เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่าปณิหิตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ (58)
ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌานหรือวิบากแห่งปฐมฌาน ฯลฯ การได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่า
ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ (59)
สัญญุตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่าสัญญุตตวิโมกข์ (60)
วิสัญญุตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าวิสัญญุตตวิโมกข์ (61)
เอกัตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าเอกัตตวิโมกข์ (62)
นานัตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่านานัตตวิโมกข์ (63)
[214] สัญญาวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ สัญญาวิโมกข์ 1 เป็นสัญญาวิโมกข์ 10 สัญญาวิโมกข์ 10 เป็นสัญญา-
วิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ1 (และ) ด้วยปริยาย2

เชิงอรรถ :
1 สัญญาวิโมกข์ 1 เป็นสัญญาวิโมกข์ 10 ด้วยอำนาจวัตถุ หมายถึงเป็นสัญญาวิโมกข์ 10 ด้วยอำนาจ
วัตถุ 10 มีนิจจสัญญาเป็นต้น (ขุ.ป.อ.2/214/183-4)
2 สัญญาวิโมกข์ 10 เป็นสัญญาวิโมกข์ 1 ด้วยปริยาย หมายถึงเป็นสัญญาวิโมกข์ 1 ด้วยการพ้นจาก
สัญญานั้น (ขุ.ป.อ.2/214/183-4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :355 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) พ้นจาก
นิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ (ญาณคือ
การพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) พ้นจากสุขสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญา-
วิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา) พ้นจาก
อัตตสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณ
คือการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) พ้นจากนันทิสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
พ้นจากราคสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณ (ญาณ
คือการพิจารณาเห็นความดับ) พ้นจากสมุทยสัญญา ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา-
ญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความสละคืน) พ้นจากอาทานสัญญา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่
มีนิมิต) พ้นจากนิมิตตสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ อัปปณิหิตา-
นุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) พ้นจากปณิธิสัญญา เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็น
ความว่าง) พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สัญญา-
วิโมกข์ 1 เป็นสัญญาวิโมกข์ 10 สัญญาวิโมกข์ 10 เป็นสัญญาวิโมกข์ 1 ด้วย
อำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอภินิเวส เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ 1 เป็นสัญญาวิโมกข์ 10 สัญญาวิโมกข์ 10
เป็นสัญญาวิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ใน
วิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจาก
นิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :356 }